ชา มีอะไรบ้าง บทความนี้เราจะมาเอาใจคนรักชาหรือคนที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับชาชนิดต่าง ๆ กันนะคะ ว่าชามีกี่ประเภท? ประเภทของชามีอะไรบ้าง? ชาแดงคืออะไร? ชาซีลอนคืออะไร? และอีกสารพัดเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชาซึ่งทางก็ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะพาทุก ๆ คนมาเจาะลึกประเด็นเกี่ยวกับเรื่องชา ๆ เหล่านี้กัน! ซึ่งหัวข้อหลักของเราในวันนี้ก็คือ “ชามีกี่ประเภท?” นั่นเองเนื่องจากว่าในปัจจุบันนี้ (ปี 2023) มีชาวางจำหน่ายและให้เราได้เลือกลิ้มลองกันอยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชามัทฉะ ชาขาว ชาดำ ชาแดง ชาอัสสัม ชาซีลอน และชาอื่น ๆ อีกมากมายจากที่กล่าวไปข้างต้น เราจึงมองว่าคนที่ไม่ได้มีการคลุกคลีกับวงการชา คงจะสับสนว่าชามีกี่ประเภท และกี่ชนิดกันแน่? และชาแต่ละแบบนั้นมันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ทำไมชาบางตัวเหมือนกันเลยแต่เรียกไม่เหมือนกันล่ะ? บทความนี้จะมาอธิบายให้เข้าใจกันค่ะ
ชา มีอะไรบ้าง ชามีกี่ประเภทและแบ่งยังไงได้บ้าง
ชา มีอะไรบ้าง ชามากี่ประเภทกันนะ? แท้จริงแล้วชานั้นแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้หลักการอะไรในการแบ่งประเภทของชา ชาแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของสี รสชาติ กรรมวิธีการผลิต แหล่งปลูก และอื่น ๆ ซึ่งชาบางชนิดอาจจะใช้ใบชาจากต้นเดียวกัน แต่มีการผลิตหรือมีแหล่งเพาะปลูกที่แตกต่างกัน เท่านี้ก็ทำให้ชาชนิดเดียวกันมีมากกว่า 1 ชื่อได้เช่นกัน
ซึ่งประเภทของชานั้น สามารถแบ่งออกได้ 3 หลักการ ดังนี้
- การแบ่งตามกรรมวิธีในการผลิต
- การแบ่งตามแหล่งการเพาะปลูก
- การแบ่งตามลักษณะของชา
การแบ่งชาตามกรรมวิธีในการผลิต
ประเภทของชาที่แบ่งตามกรรมวิธีการผลิตจะมีความแตกต่างตรงที่ขั้นตอนการบ่มชา เพราะขั้นตอนนี้จะเป็นตัวกำหนดลักษณะของชาที่ผลิต เช่น มีสีแบบไหน มีกลิ่น และรสชาติยังไงนอกจากนี้ ในขั้นตอนการบ่มชามักจะมีการนวดคลึงหรือทำให้ใบชาช้ำร่วมด้วย เพื่อให้เอนไซม์ในใบชานั้น เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) กับอากาศ ยิ่งบ่มนานมากแค่ไหนสีของใบชาก็จะยิ่งเข้มมากขึ้น คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในใบชาก็จะแตกตัวออกมาเป็นสารแทนนินที่ส่งผลให้ชามีรสชาติที่เข้มขึ้น (ขม/ฝาด) หากต้องการหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชันนี้ เราสามารถหยุดได้โดยใช้ความร้อนจากการคั่วอบค่ะ
1. ชาที่ไม่ผ่านการบ่มเลย
ชาที่ไม่ผ่านการบ่มเลย สังเกตได้ง่าย ๆ คือจะมีรสชาติที่ทานง่าย เมื่อชงแล้วจะได้น้ำชาสีใสมาดื่ม ซึ่งชนิดของชาที่ไม่ได้ผ่านการบ่มเลยก็คือ ชาขาว ชาเขียวเซนฉะ และชาเขียวมัทฉะค่ะ
ชาขาว (White Tea)
ชาขาวจะใช้ยอดอ่อนที่เพิ่งแตกยอดออกมาไปตากแห้งด้วยการตากแบบธรรมชาติหรือใช้เครื่องอบทำให้ใบชาแห้ง เพียงเท่านี้ก็ได้ใบชาขาว ซึ่งชาขาวเป็นชาที่มีสีอ่อนมาก (เหลืองจาง ๆ) มีรสชาติของชาแบบอ่อน ๆ หวานเล็กน้อย ทานง่ายกว่าชาประเภทอื่น ๆ (ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดขายของชาขาวเลยก็ว่าได้ค่ะ) และชาขาวนับว่าเป็นชาที่มีราคาสูง เพราะต้องใช้ใบชาในปริมาณมากกว่าชาประเภทอื่น ๆ จึงจะได้น้ำชาในปริมาณเท่ากัน
ชาเขียว (Sencha / Green Tea)
ชาเขียวกรีนทีหรือชาเขียวเซนฉะจะได้มาจากการนำยอดใบชาที่ปลูกกลางแจ้งไปตากแห้ง > นำไปอบไอน้ำหรือคั่วในกระทะร้อน > นวดใบชา และอบให้แห้งด้วยความร้อน จากนั้นเราก็จะได้ใบชาที่มีสีเขียวอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อชาเขียวนี่เอง ซึ่งจะมีกลิ่นหอมสดชื่นคล้ายกลิ่นหญ้า ทานแล้วไม่ขม รสชาติออกไปทางหวาน มีสีเขียวอ่อนใส ๆ และจะไม่มีการตกตะกอนค่ะ
ชามะลิ (Jasmine Tea)
ถ้าเรานำชาเขียวไปอบรมกลิ่นดอกมะลิ เราก็จะได้ชามะลิออกมาหอม ๆ ออกมาค่ะ โดยจะมีลักษณะเป็นใบชาแห้งผสมกับดอกมะลิแห้ง ส่วนผงชาเขียวมะลิคือการนำใบชาแห้งและดอกมะลิแห้งไปบด เพื่อให้ได้ออกมาเป็นผงละเอียด ๆ ค่ะ
ชาเก็นไมฉะ (Genmaicha)
คือการผสมกันระหว่างชาเขียวเซนฉะและข้าวคั่ว ในอัตราส่วนที่เท่ากันครึ่งต่อครึ่ง ทำให้ชาเก็นไมฉะมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมของข้าวคั่ว หรือบางคนอาจจะได้กลิ่นเหมือนป็อปคอร์น จึงทำให้ชาเก็นไมฉะมีชื่อเรียกว่า “ชาข้าวคั่ว” หรือ “ชาป็อปคอร์น” ค่ะ
ชามัทฉะ (Matcha)
ชามัทฉะหรือชาเขียวมัทฉะ คือชาเขียวชนิดหนึ่งแต่มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและผลิตออกมายากกว่าชาเขียวเซนฉะค่ะ ได้มาจากยอดของต้นชาที่ปลูกในร่ม และมีการคลุมไม่ให้ใบชาโดนแสงแดดโดยตรง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบชามีสีเขียวเข้มและสดจากนั้นจะเก็บยอดใบชาไปอบไอน้ำ > เป่าให้ใบชาแห้ง และนำใบชาไปบดเป็นผงละเอียด โดยไม่มีการแยกกาก ซึ่งชามัทฉะจะอยู่ในรูปแบบชาผงบดละเอียด สีเขียวเข้มสวยชัด รสชาติเข้มข้น มีกลิ่นชาชัด มีความหนาแน่นมากกว่าชาเขียวเซนฉะ เมื่อนำไปชงเครื่องดื่มและวางทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้มีการตกตะกอนได้ค่ะ ชา มีอะไรบ้าง